มหกรรมลดเค็ม 4-6 ธ.ค. นี้ มุ่งเป้าปรับพฤติกรรมบริโภคโซเดียมไม่เกิน 800 มิลลิกรัม/วัน ภายในปี 2568
นางสาวนิรมล ราศรี ผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่ายเร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ “ลดการบริโภคเกลือโซเดียมในประเทศไทย ปี 2559-2568” สอดรับมติการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ปี 2558 เพื่อลดภาระโรคจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (NCDs) และลดค่ารักษาพยาบาล ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว โดยสสส.และภาคีเครือข่ายได้ช่วยกันผลักดันในส่วนของนโยบายที่เกี่ยวข้องที่จะช่วยให้คนไทยมีพฤติกรรมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตในการบริโภคอาหารที่สามารถลดเค็ม ร่วมกับผู้ประกอบการในการปรุงหรือผลิตอาหารที่ลดเค็มและโซเดียม กำหนดมาตรฐานและออกกฎระเบียบข้อบังคับ รวมถึงพัฒนานวัตกรรมที่เป็นรูปธรรม เช่น 1.ผลักดันให้เกิดมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่องนโยบายการลดบริโภคเกลือและโซเดียมเพื่อลดโรค NCDs 2.จัดทำยุทธศาสตร์การลดการบริโภคเกลือและโซเดียมในไทย ปี 2559-2568 3.นวัตกรรมเครื่องตรวจสอบความเค็ม 4.ขับเคลื่อนมาตรการภาษีโซเดียม ช่วยสร้างกติกากลางให้กับภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้เกิดการปรับสูตรลดปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหาร 5.สื่อสารรณรงค์แคมเปญ ลดเค็ม ลดโรค ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการบริโภคโซเดียมในแนวทางที่ดีขึ้น จาก 4,351.69 มฒิลิกรัมต่อวัน ในปี 2552 ลด ลงอยู่ที่ 3,636 มิลลิกรัมต่อวัน ในปี 2562”รศ.นพ.สุราษฎร์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์ความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อ (NCDs) เพิ่มขึ้นจากการได้รับเกลือและโซเดียมในปริมาณสูง จากการรับประทานอาหาร อยากให้หลีกเลี่ยงและระมัดระวัง กินเค็มวันเดียวอาจจะไม่เห็นผล แต่หากกินเค็มทุกวันจะมีปัญหาสุขภาตามมา โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่ป่วย กลุ่มวัยทำงาน ที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ ปัจจุบันพบการเป็นโรคไตที่อายุประมาณ 30-40 ปีเริ่มมีปัญหาโรคไต ไตวายแล้ว จากเดิมจะพบเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งสถานการณ์นี้น่าเป็นเป็นห่วงและจากการทำงานร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานในสังกัด องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย และภาคีเครือข่ายต่างๆ พบว่าระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ประชาชนบริโภคโซเดียมลดลงจาก 4,320มิลลิกรัม ลดลงไปเหลือ 3,600 มิลลิกรัม ลดลงประมาณ 15% ถือว่าเป้าหมายอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่อยากให้ลดลงและบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม /วัน ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ซึ่งจะทำให้ประชาชนห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) แล้วก็อัตราการตายจะลดลงด้วยพญ.สุธีสฤษฎิ์ศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข 67 เขตทวีวัฒนา กล่าวว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคช่วยชะลอการเกิดโรค NCDsได้โดยมุ่งเน้นแนวทางป้องกันก่อนการรักษา ที่ผ่านมา สถานการณ์โรค NCDs ไม่ว่าจะเป็นของระดับประเทศไทยและทั่วโลกเพิ่มขึ้น ถ้าไม่กำจัดที่ต้นตอ คือ เรื่องของการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม ไม่ออกกำลังกาย รวมถึงการสูบบุหรี่ และแอลกอฮอล์ จะส่งผลระยะยาว และเป็นป่วยเป็นโรค NCDsได้ในอนาคต ซึ่งการรับประทานโซเดียมไม่ได้มีเฉพาะแค่อาหารรสเค็มเท่านั้น แต่ยังในอาหารแปรรูป ผงฟู เบเกอรี่ น้ำอัดลม ก่อนรับประทานอยากให้ดูเรื่องฉลากอาหารด้วย และอยากให้ทุกท่านลองปรับลิ้น การปรับลิ้น คือเราลองกินแบบไม่ปรุง ไม่ปรุงน้ำปลาพริก ไม่ปรุงอาหารรสจัด ลองประมาณ 3 อาทิตย์ ลิ้นของคุณจะมีการปรับเปลี่ยน พอกินอาหารรสชาติเค็ม จะเปลี่ยนจากความอร่อยเป็นไม่อร่อย แล้วสุขภาพจะตามาด้วยในโอกาสครบรอบ 10 ปีของเครือข่ายลดการบริโภคเค็ม จึงได้จัดมหกรรมแสดงผลการดำเนินงานความร่วมมือในการดำเนินงานลดการบริโภคเกลือและโซเดียม เค็ม จัดขึ้นภายใต้คำขวัญ “เค็มน้อย อร่อยได้” เพื่อกระตุ้นเตือนและรณรงค์เรื่องการลดบริโภคเค็มให้ประชาชนเกิดความตระหนัก มีความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบจากการได้รับเกลือและโซเดียมปริมาณสูง ภายในงานนอกจากจะมีการเสวนาหัวข้อโซเดียมเกินไป โรคภัยใกล้ตัว, โซเดียมเพชฌฆาตร้าย ทำลายสุขภาพ, Healthy Family โดยคุณพีท ทองเจือ และลูกสาว ยังมีกิจกรรมการออกกำลังกายที่ถูกวิธี กินดีปลอดโรค โดยคุณแอน ทองประสม และโค้ช เชอรี่ พร้อมชมการสาธิตการปรุงอาหารเมนู เค็มน้อย อร่อยได้ โดยอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง และอาหารเพื่อสุขภาพจากนักโภชนาการและผู้ประกอบการร้านอาหารชื่อดังสามารถเข้าร่วมงานโดยไม่มีค่าใช้จ่ายในวันที่ 4-6 ธันวาคม 2566 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทีเฟซบุ๊กแฟนเพจ ลดเค็ม ลดโรค.
#เค็มน้อย #ความรู้สุขภาพ #ลดโรคไม่ติดต่อ