วานนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูงที่กระทรวงยุติธรรม โดยให้ พ.ต.ต.สุริยา สิงหกมล เป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม และให้ พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ รักษาราชการแทน โดยมีการรายงานว่า ในช่วงเช้าวันนี้ พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ ได้ร่วมประชุมกับคณะพนักงานสอบสวนคดีหมูเถื่อน และมีการขยายผลจากการจับกุมบริษัทชิปปิ้งเอกชนสัมพันธ์ ด้วยคดีที่ กองบัญชาการตำรวจพิเศษ (แบล็คอิน) ได้นำเข้าตู้หมูเถื่อนในปี 64-66 และอื่นๆ
ภายหลังจากวานนี้ (28 พ.ย.) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอขอการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบาย รวมทั้งการบริหารราชการของกระทรวงยุติธรรมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และเกิดประโยชน์แก่ทางราชการ จึงเห็นสมควรแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง กระทรวงยุติธรรม โดยให้ พ.ต.ต.สุริยา สิงหกมล อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงยุติธรรม และให้ พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ รักษาราชการแทน ตามที่มีการรายงานข่าวไปแล้วนั้นเมื่อวันที่ 29 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงเช้าวันนี้ พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ หรือ รองแพร รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ร่วมประชุมกับคณะพนักงานสอบสวนคดีหมูเถื่อน ซึ่งนำโดย พ.ต.ต.ณฐพล ดิษฐธรรม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม และในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีหมูเถื่อน และคณะ เพื่อกำหนดแนวทางการทำสำนวนคดีหมูเถื่อนหลังจากนี้โดย พ.ต.ต.ณฐพล ดิษฐธรรม ออกมาเปิดเผยภายหลังการประชุม ว่า สำหรับการประชุมร่วมกันของคณะพนักงานสอบสวนชุดคลี่คลายคดีหมูเถื่อน 161 ตู้ โดยมี พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และในฐานะรักษาการแทนอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ทั้งยังเป็นผู้กำกับดูแลสำนวนคดีหมูเถื่อน ได้มีมติดังนี้
ดีเอสไอจะขยายผลจาก 10 บริษัทชิปปิ้งเอกชนที่ได้ดำเนินการจับกุมไป ซึ่งพบว่าได้มีการนำตู้หมูบางส่วนออกไปก่อน ว่ามีการกระจายไปที่ไหนอย่างไรบ้าง และอีกคดีที่ใหญ่ที่สุดที่เราจะดำเนินการ คือ เรื่องของการนำเข้าตู้หมูเถื่อน ซึ่งพบว่ามีการนำเข้าตั้งแต่ ปี 64-66 โดยกระบวนการทั้งหมดที่เราจะทำ เกิดจากการที่ได้ดูข้อมูลจากกลุ่มสัตวแพทย์ที่รายงานผลเรื่องของการมีโรคระบาดหมูภายในประเทศไทยและคำอภิปรายไม่ไว้วางใจของรัฐบาลสมัยที่แล้ว รวมถึงการส่งเบาะแสข้อมูลต่างๆ ของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยจำนวนมาก และสายลับ รวมถึงการตรวจสอบเส้นทางการเงินทั้งหมดโดยเราจะรับดำเนินการเกี่ยวกับขบวนการองค์กรอาชญากรรมที่มีลักษณะเป็นการกระทำความผิดที่ส่งผลต่อความมั่นคงด้านอาหาร (สุกร) โดยจะรับเป็นคดีพิเศษอีกหนึ่งคดี เพื่อที่จะสางขบวนการลักลอบนำเข้าหมูเถื่อนทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม สำหรับคดีใหม่ที่เราจะรับเป็นอีกหนึ่งคดีพิเศษนี้นั้น พบว่ามีเจ้าหน้าที่ข้าราชการทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนพัวพันจำนวนมาก ซึ่งเราจะดำเนินการในภาพรวมขนาดใหญ่ นอกจากนี้ จากการสืบสวนเบื้องต้นพบว่ากลุ่มใหญ่นี้ได้มีการนำเข้าอาหารแช่แข็ง (Frozen Food) ประเภท ปลาแช่แข็ง และพลาสติกประเภทพอลิเมอร์ เป็นต้น จึงทำให้เราเห็นชัดเจนว่ากลุ่มใหม่นี้เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่ไม่เคยมีบุคคลรายใดหรือนิติบุคคลใดถูกจับกุมมาก่อน ทั้งนี้ สำหรับกลุ่มใหม่นี้ เราพบการนำเข้าตู้คอนเทเนอร์เบื้องต้นที่เกี่ยวข้องแล้ว จำนวนหลายพันตู้ พร้อมเงินหมุนเวียนของบุคคล/นิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง จำนวนหลักพันล้านบาทพ.ต.ต.ณฐพล กล่าวอีกว่า ส่วนจำนวนตู้หมูคอนเทเนอร์ก่อนหน้านี้ที่พบว่ามีการแอบลักลอบนำเข้าเมื่อปี 2564 จำนวน 2,385 ตู้ ล่าสุดเราพบเพิ่มเป็น 2,388 ตู้ ส่วนจำนวน 161 ตู้ ที่เราได้ดำเนินการไปก่อนหน้านี้นั้น เราได้แตกเลขคดีออกเป็นอีก 9 เลขคดีพิเศษ ประกอบด้วย คดีพิเศษที่ 101/2566 บริษัท กู๊ด วอเตอร์ อีควิฟเม้นท์ จำกัด คดีพิเศษที่ 102/2566 ห้างหุ้นส่วนจำกัด กันตา ไทยโฟรเซ่นฟิช คดีพิเศษที่ 103/2566 บริษัท มายเฮ้าส์ เทรดดิ้ง จำกัด คดีพิเศษที่ 104/2566 บริษัท อาร์.ที.เอ็นโอเวอร์ซี จำกัด คดีพิเศษที่ 105/2566 บริษัท เรนโบว์ กรุ๊ป จำกัด คดีพิเศษที่ 106/2566 ห้างหุ้นส่วนจำกัด สหัสวรรษ ฟูดส์ คดีพิเศษที่ 107/2566 บริษัท ซี เวิร์ล โฟรเซ่น ฟูด จำกัด คดีพิเศษที่ 108/2566 (สงวนการเปิดเผยชื่อ) และคดีพิเศษที่ 109/2566 (สงวนการเปิดเผยชื่อ) เพื่อที่จะดูว่าใน 10 บริษัทชิปปิ้งเอกชนเหล่านี้ได้มีการนำตู้คอนเทเนอร์บรรจุชิ้นส่วนสุกร ออกไปก่อนหน้านี้กี่ตู้ และเกี่ยวข้องกับใครบ้าง เนื่องจากในจำนวน 161 ตู้นั้นที่อายัดไว้ ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี และที่ได้มีการกระจายออกไปจากท่าเรือก่อนหน้านี้ โดยอาจถูกนำไปจำหน่ายหมดแล้ว ซึ่งเราได้สืบสวนทางการเงินพบว่ามีขบวนการใหญ่ที่เกี่ยวข้อง และเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 ซึ่งจะให้ทาง ปปง. ดำเนินการช่วยตรวจสอบเรื่องเส้นทางการเงิน และมีการยึดอายัดทรัพย์ของผู้กระทำความผิดต่อไปสำหรับในกลุ่มนายทุนนั้น ภายหลังจากที่ดีเอสไอได้จับกุมสองพ่อลูกไปแล้ว (นายวิรัชและนายธนกฤต ภูริฉัตร) เราได้มีการขยายผลอย่างต่อเนื่อง จึงพบว่ามีเจ้าหน้าที่ข้าราชการทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามามีส่วนพัวพันจำนวนมาก ซึ่งเราจะดำเนินการในภาพรวมขนาดใหญ่ นอกจากนี้ จากการสืบสวนเบื้องต้นพบว่ากลุ่มใหญ่นี้ได้มีการนำเข้าอาหารแช่แข็ง (Frozen Food) ประเภท ปลาแช่แข็ง และพลาสติกประเภทพอลิเมอร์ เป็นต้น จึงทำให้เราเห็นชัดเจนว่ากลุ่มใหม่นี้เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่ไม่เคยมีบุคคลรายใดหรือนิติบุคคลใดถูกจับกุมมาก่อน ทั้งนี้ สำหรับกลุ่มใหม่นี้ เราพบการนำเข้าตู้คอนเทเนอร์เบื้องต้นที่เกี่ยวข้องแล้ว จำนวนหลายพันตู้ พร้อมเงินหมุนเวียนของบุคคล/นิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง จำนวนหลักพันล้านบาทพ.ต.ต.ณฐพล กล่าวอีกว่า ส่วนจำนวนตู้หมูคอนเทเนอร์ก่อนหน้านี้ที่พบว่ามีการแอบลักลอบนำเข้าเมื่อปี 2564 จำนวน 2,385 ตู้ ล่าสุดเราพบเพิ่มเป็น 2,388 ตู้ ส่วนจำนวน 161 ตู้ ที่เราได้ดำเนินการไปก่อนหน้านี้นั้น เราได้แตกเลขคดีออกเป็นอีก 9 เลขคดีพิเศษ ประกอบด้วย คดีพิเศษที่ 101/2566 บริษัท กู๊ด วอเตอร์ อีควิฟเม้นท์ จำกัด ค...
#DSI #ขบวนการใหญ่ #ขบวนการใหม่ #ขรก